วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

                                                            ความสำคัญของความเป็นครู 
ความนำ
               อาชีพทุกอาชีพย่อมมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมด้วยกันทั้งสิ้น  ยากที่จะกล่าวอ้างว่าอาชีพใดมีความสำคัญกว่ากัน  แต่ถ้าเรามาพิจารณาเฉพาะวิชาชีพครูให้ลึกซึ้งแล้วจะเห็นว่า ผู้เป็นครูนั้นต้องรับภาระหน้าที่ต่อสังคมและชาติบ้านเมือง  หากผู้เป็นครูปฏิบัติภาระที่ตนเองได้รับบกพร่อง  ผลกระทบก็จะตกไปถึงความเสื่อมของสังคมและชาติบ้านเมือง  เพื่อให้นักศึกษาครูได้ตระหนักถึงความสำคัญของครู  
สมญานามที่เน้นให้เห็นความสำคัญของครู
              ครูมีความสำคัญต่อสังคมมาก ดังนั้นสังคมจึงยกย่องครูโดยให้สมญานามต่างๆ คือ
             1. ครู คือ นักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา
             หมายความว่า ครูเป็นผู้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการศึกษาของชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะนักปฏิวัติในสนามรบทางการศึกษา
              2. ครู คือ ผู้ใช้อาวุธลับของชาติ
               หมายความว่า ครูเป็นผู้คอยอบรมสั่งสอนนักเรียนนักศึกษาซึ่งเปรียบเสมือนอาวุธลับของชาติให้เป็นไปตามสังคมกำหนด ภารกิจที่ครูพึงกระทำในฐานะผู้ใช้อาวุธลับของชาติ
               3. ครู คือ ทหารเอกของชาติ
               หมายความว่า ครูเป็นบุคคลที่มีความเก่งมีความสามารถ เป็นผู้นำของชาติบ้านเมืองในทุกๆด้าน ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะทหารเอกของชาติ
             4. ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ
             หมายความว่า ครูเป็นแบบอย่างแก่เยาวชนและบุคคลทั่วไปทั้งด้านความรู้และพฤติกรรมต่างๆ ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะแม่พิมพ์ของชาติ
              5. ครู คือ กระจกเงาของศิษย์
             หมายความว่า ครูเป็นผู้คอยชี้แนะ แนะนำตักเตือนศิษย์ให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่กระทำสิ่งที่นำความเดือนร้อนมาสู่ตัวเองหรือผู้อื่น ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะกระจกเงาของศิษย์
             6. ครู คือ ดวงประทีปส่องทาง
              หมายความว่า ครูเป็นผู้ให้ความรู้ให้ปัญญาแก่เยาวชน คนที่มีปัญญาย่อมมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนมีดวงประทีปส่องทางให้กับตนเองตลอดเวลา ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะดวงประทีปส่องทาง
             7. ครู คือ ผู้สร้างโลก
            หมายความว่า ครูเป็นผู้พัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถเพื่อให้คนเหล่านั้นไปพัฒนาสังคมประชาชาติ ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้สร้างโลก
               8. ครู คือ ผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ
               หมายความว่า ชาติจะเจริญก้าวหน้าหรือล้มสลายก็เพราะครู ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะผู้กุมความเป็นความตายของชาติไว้ในกำมือ
               9. ครู คือ ปูชนียบุคคล
               หมายความว่า ครูเป็นบุคคลที่มีความน่าเคารพบูชาของศิษย์และบุคคลทั่วไป ภารกิจที่ครูพึงกระทำหรือจำเป็นต้องกระทำในฐานะปูชนียบุคคล
            10. ครู คือ วิศวกรสังคม
            หมายความว่า ครูเป็นนักสร้างให้เป็นไปตามทิศทางที่สังคมต้องการ เนื่องจากปัจจุบันสังคมยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรทางสังคม เพราะครูทำหน้าที่เสมือนวิศวกรทางด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ งานของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม มีดังนี้ ครูทำงานวิจัย  ครูทำงานพัฒนา  ครูทำงานออกแบบ  ครูทำงานผลิต  ครูทำงานก่อนสร้าง  ครูทำงานควบคุมโรงเรียน   ครูทำงานทดสอบ  ครูทำงานการขายและการตลาด  ครูทำงานบริหาร ครูทำงานที่ปรึกษา และครูทำงานการศึกษาโดยตรง
ความสำคัญของครูในฐานะเป็นวิศวกรสังคม
                การที่ครูได้รับการยกย่องให้เป็นวิศวกรสังคมก็เพราะครูมีบทบาททางสังคมเช่นเดียวกับงานวิศวกรในฐานะนักวิทยาศาสตร์ประยุกต์ได้กระทำ กล่าวคือ ครูเป็นนักสร้าง ออกแบบ แก้ไข ปรับปรุง และเป็นนักพัฒนาคน ด้วยเหตุนี้สังคมจึงยกย่องให้ครูเป็นวิศวกรสังคม งานของครูในฐานะที่เป็นวิศวกรสังคมที่สำคัญจึงมีดังนี้
1.              ครูทำงานวิจัย    ผู้ประกอบวิชาชีพครูต้องพยายามศึกษาค้นคว้าวิจัยตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงขั้นสลับซับซับซ้อนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอน
                2. ครูทำงานพัฒนา    ครูนำความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าทดลองทางการศึกษาและจิตวิทยาไปทดลองใช้ในการเรียนการสอน เพื่อหาความเหมาะสมและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จุดมุ่งหมายที่สำคัญยิ่งคือ     “การพัฒนาคน
                3. ครูทำงานออกแบบ   ออกแบบด้านกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับพื้นฐานความสามารถของนักเรียน และให้สอดคล้องกับวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการประกอบการสอนระดับต่างๆ
                4. ครูทำงานการผลิต  ครูให้ความรู้ความสามารถแก่นักเรียนนักศึกษาก่อนที่เขาเหล่านั้นจะออกไปรับใช้สังคม ครูจะต้องทดสอบครั้งแล้วครั้งเล่าเพื่อให้ผลิตผลของครูเป็นบุคคลที่มีคุณภาพตามที่สังคมต้องการ
                5. ครูทำงานก่อสร้าง  สร้างพฤติกรรมของคนให้เป็นไปตามรูปแบบที่สังคมส่วนใหญ่ต้องการ ซึ่งเป็นงานที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการก่อสร้างตึกสร้างอาคารบ้านช่องเท่าใดนัก
               6. ครูทำงานควบคุมโรงเรียน  หากครูสามารถควบคุมดูแลโรงเรียนให้สะอาดเรียบร้อยตกแต่งอาคารบริเวณสวยงาม มีบรรยากาศน่าอยู่น่าเรียน นักเรียนในโรงเรียนอยู่ด้วยกันด้วยความรักสามัคคี สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมดี การจัดกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้นก็จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลไปถึงผลผลิตของโรงเรียนคือ นักเรียนจะต้องมีคุณภาพด้วยอย่างแน่นอน
               7. ครูทำงานทดสอบ   ครูจะเป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบการทดสอบและดำเนินการทดสอบเองตามความเหมาะสม
                8. ครูทำงานการขายและการตลาด  ครูต้องเป็นบุคคลสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้านกับชุมชน โรงเรียนเปรียบเสมือนบริษัทหรือโรงงานผลิตสินค้า นักเรียนคือสินค้า ส่วนชุมชนหรือสังคมเปรียบเสมือนผู้ซื้อหรือลูกค้า ถ้าผู้เรียนมีคุณภาพดีแสดงว่าเป็นที่ต้องการของตลาดมากครูก็มีคุณภาพ
                9. ครูทำงานบริหาร  ผู้เป็นครูทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้บริหารระดับต่างๆ
               10. ครูทำงานที่ปรึกษา งานของครูทุกระดับชั้นต้องเกี่ยวข้องกับการให้คำปรึกษาแก่ศิษย์ และบางครั้งต้องให้คำปรึกษาแก่ประชาชนในชุมชนใกล้เคียงสถานศึกษาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้คำปรึกษาแก่ศิษย์นั้นสำคัญยิ่ง
                12. ครูทำงานการศึกษาโดยตรง งานการศึกษาเป็นงานของครูโดยตรงครูต้องรับผิดชอบกับการศึกษาทุกระดับชั้น ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา รับผิดชอบในการสร้างคุณภาพของคนเพื่อให้คนไปสร้างสังคมต่อไป
ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาเยาวชน
             งานสำคัญของครูในการพัฒนาเยาวชนได้แก่ การให้ความรู้เชิงวิชาการเพื่อเป็นฐานในการศึกษาเล่าเรียน และประกอบอาชีพ, ให้ความรู้สึกพยายามให้เยาวชนมีความสำนึกว่าอะไรดี อะไรไม่ดี อะไรควร และอะไรไม่ควร, ให้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักคิดเพื่อแก้ไขปัญหา
             บทบาทของครูต่อการพัฒนาเยาวชนถือว่าเป็นงานที่สำคัญมาก ครูจะทำหน้าที่ในฐานะเป็นวิทยากรสังคมได้สมบูรณ์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการพัฒนาของเยาวชน
ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาสังคม
1.ให้การศึกษาและความรู้แก่ประชาชนทั่วไป
2.เป็นผู้นำหรือริเริ่ม ปรับปรุงความเป็นอยู่ของสังคมและวัฒนธรรม
3.เป็นผู้ปรับปรุงส่งเสริม
4.เป็นที่ปรึกษาแก่ชุมชน
5.เป็นผู้สร้างความตื่นตัว
6.เป็นผู้อำนวยความสะดวกและประสานงาน
ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาการเมืองการปกครอง
               1.ให้ความรู้ความเข้าใจแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับระบบการปกครองประเทศ
                2.ฝึกหัดให้เยาวชนในสถานศึกษานำรูปแบบการปกครองประเทศมาใช้กับการดำเนินกิจกรรมบางอย่างในสถานศึกษา
                3.ครูเป็นตัวแทนของรัฐในการเชิญชวนให้ประชาชนไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงในการเลือกตั้ง
                4.สร้างค่านิยมระบอบประชาธิปไตยแก่ประชาชน
                5.แนะนำประชาชนในท้องถิ่นมิให้เห็นแก่อามิสสินจ้างรางวัล การซื้อสิทธิขายเสียง
ความสำคัญของครูต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ
                1.สอนนักเรียนที่ตัวครูเองรับผิดชอบอยู่ให้เต็มเวลา เมหลักสูตร เต็มความสามารถ
                2.ส่งเสริมให้นักเรียนนักศึกษาได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                3.ส่งเสริมกิจกรรมด้านสหกรณ์ร้านค้าในโรงเรียนอย่างจริงจัง
                4.ส่งเสริมการออมทรัพย์ของครูและนักเรียน
                5.ให้คำปรึกษาแนะนำกระตุ้นเร่งเร้าหรือเร่งงานอาชีพใหม่ๆ
                6.ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเพื่อจัดฝึกอาชีพใหม่ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น
                7.ให้ความรู้และส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในชุมชน
                8.ส่งเสริมการผลิตและแนะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ
ความสำคัญของครูต่อการส่งเสริมความมั่นคงทางศาสนาและวัฒนธรรม
                1.มีความเลื่อมใสศรัทธาในสิ่งที่ตนนับถือ
                2.ศึกษาหาความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องในหลักธรรมคำสอนที่ตนนับถือ
                3.นำหลักธรรมคำสอนมาปฏิบัติ
                4.ปฏิบัติศาสนกิจเป็นประจำ
                5.ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชน
                6.ศึกษาค้นคว้าและทำการวิจัยทางวัฒนธรรมต่างๆ
                7.เลือกสรรวัฒนธรรมที่ดีงามเพื่อนำไปถ่ายทอดให้กับเยาวชนอย่างเหมาะสม
                8.ศึกษาหาวิธีที่จะถ่ายทอดวัฒนธรรมให้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้น
                9.ปรับปรุงเนื้อหาสาระในวิชาการต่างๆ
                10.สอดแทรกวัฒนธรรมบางสิ่งบางอย่าง โดยเฉพาะด้านคติธรรม
                11.ครูและอาจารย์ทุกคนต้องร่วมมือกันจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมที่พึงประสงค์อยู่เสมอ
                12.ครูและอาจารย์ทุกคนต้องได้รับการพัฒนาความคิดและเจตคติที่ดีต่อวัฒนธรรม
                13.ครูอาจารย์ทุกคนต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างตามวัฒนธรรมที่ดีงามของชาติ
                14.ศึกษาค้นคว้าและทำการวิจัยทางวัฒนธรรมต่างๆ และนำผลการวิจัยเผยแพร่แก่ชุมชนให้มีความรู้
                15.จัดห้องวัฒนธรรมในสถานศึกษาให้ทั่วถึง เพื่อเป็นที่รวบรวมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม